นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน
วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2566
นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน
บริษัท พี เค เค โปรเซส ซิสเต็มส์ จำกัด
บริษัท พี เค เค โปรเซส ซิสเต็มส์ จำกัด (บริษัทฯ) มีนโยบายการกำหนดความรับผิดชอบ แนวปฏิบัติ และข้อกำหนดในการดำเนินการและการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด บริษัทฯ จึงได้เข้าร่วม ” แนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชัน
ของภาคเอกชนไทย” เพื่อแสดงเจตนารณ์และความมุ่งมั่นในการต่อต้านการคอร์รัปชันที่อาจเกิดขึ้นในการดำเนินการทางธุรกิจและได้จัดทำ “นโยบายต่อต้านการคอร์ชัน” เป็นลายลักษณ์อักษรขึ้นเพื่อให้การตัดสินใจได้รับการพิจารณาและปฏิบัติอย่างรอบคอบและเพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนในการดำเนินธุรกิจ และพัฒนาสู่องค์กรแห่งความยั่งยืน
- คำนิยามตามนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน
คอร์รัปชัน หมายถึง การติดสินบนไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใดๆ โดยการเสนอให้ มอบให้ เรียกร้อง หรือรับซึ่งเงิน ทรัพย์สิน รวมไปถึงประโยชน์อื่นใดซึ่งไม่เหมาะสมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานของเอกชน เพื่อให้บุคคลดังกล่าวกระทำหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ อันเป็นการให้ได้มาหรือรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์อื่นใดที่ไม่เหมาะสม
ทางธุรกิจ เว้นแต่เป็นกรณีที่กฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ ขนบธรรมเนียม ประเพณีท้องถิ่น หรือจารีตทางการค้าให้กระทำได้
สินบน หมายถึง การกระทำในรูปแบบใดๆที่เป็นการเสนอ การให้สัญญา การมอบให้ การยอมรับ การเรียกร้องที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ในรูปแบบใดๆ ในลักษณะที่เป็นการจูงใจให้มีการปฏิบัติที่ขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อหน้าที่รับผิดชอบ
การให้หรือรับของขวัญ หมายถึง การให้หรือรับของขวัญ สิ่งที่ใช้แทนเงินสด สิ่งของ หรือผลประโยชน์ใดๆ
การรับรองและการบริการต้อนรับ หมายถึง การใช้จ่ายสำหรับเลี้ยงรับรองทางธุรกิจ เช่น การเลี้ยงรับรองเป็นอาหารและเครื่องดื่ม การเลี้ยงรับรองในรูปแบบการกีฬา และการใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการปฏิบัติทางธุรกิจ หรือเป็นจารีตทางการค้ารวมถึงการให้ความรู้ความเข้าใจทางธุรกิจ
ผลประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ หมายถึง ของขวัญ เงินสด หรือรูปแบบอื่นๆ ที่อาจให้โดยตรงหรือผ่านบุคคลอื่น
การบริจาคเพื่อการกุศล หมายถึง การมอบเงินทุน สิ่งของ หรือบริการต่างๆ ให้แก่องค์กรการกุศลหรือโครงการที่ต้องการความช่วยเหลือทางการเงินหรือทรัพยากรอื่นๆในการดำเนินกิจกรรมของตน
การบริจาคเพื่อสาธารณประโยชน์ หมายถึง การมอบสิ่งของหรือเงินทุนให้กับองค์กรหรือโคงการที่มีวัตถุประสงค์ในการสร้างประโยชน์หรือมีผลกระทบที่ดีต่อสังคมและชุมชนโดยรวม โดยไม่มีการคาดหวังที่จะได้รับผลกำไรส่วนตัว
การให้ความช่วยเหลือทางการเมือง หมายถึง การช่วยเหลือในนามบริษัทไม่ว่าจะเป็นทางด้านการเงินหรือรูปแบบอื่น เพื่อสนับสนุนกิจกรรมทางการเมือง การช่วยเหลือด้านการเงิน ส่วนการช่วยเหลือในรูปแบบอื่น เช่น การให้สิ่งของหรือบริการ การโฆษณาส่งเสริมหรือสนับสนุนพรรคการเมือง เว้นแต่เป็นการสนับสนุนกระบวนการประชาธิปไตยที่สามารถทำได้ตามที่กฎหมายกำหนด
เงินสนับสนุน หมายถึง เงินที่จ่ายสำหรับการบริการหรือผลประโยชน์ที่ยากต่อการวัดผลและติดตามซึ่งอาจถูกเชื่อมโยงไปเกี่ยวข้องกับการให้สินบน เช่น เงินสนับสนุนที่อาจมีจุดประสงค์แอบแฝง โดยใช้การกีฬาเพื่อกุศลหรือองค์กรการกุศลเป็นสิ่งบังหน้าเพื่อก่อให้เกิดความได้เปรียบในการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
ค่าอำนวยความสะดวก หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่จ่ายแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างไม่เป็นทางการ และเป็นการให้เพียงเพื่อให้มั่นใจว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐ จะดำเนินการตามกระบวนการหรือเป็นการกระตุ้นให้ดำเนินการรวดเร็วขึ้น
เจ้าหน้าที่ของรัฐ หมายถึง เจ้าหน้าที่ของรัฐตามความหมายที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และให้รวมถึง ข้าราชการ เจ้าพนักงาน พนักงานรัฐวิสาหกิจ ลูกจ้าง ตัวแทน หรือบุคคลในหน่วยงานของรัฐ
คู่ค้า หมายถึง บุคคลหรือบริษัทที่มีการทำธุรกรรมหรือการค้าขายร่วมกัน ที่มีความสัมพันธ์ธุรกิจกัน ทำการค้าขายสินค้าหรือบริการกัน เช่น คู่ค้าธุรกิจ คู่ค้าทางการค้า หรือคู่ค้าทางการค้าระหว่างประเทศ
บุคคลที่สาม หมายถึง บุคคลหรือผู้ที่ไม่ได้มีส่วนร่วมโดยตรงในการทำธุรกรรมหรือกิจกรรมทางธุรกิจ
เอเย่นต์ หมายถึง บุคคลหรือองค์กรที่มีความรับผิดชอบหรือมีหน้าที่ทำงานแทนในชื่อของบุคคลหรือองค์กรของบริษัท
ผู้ตรวจสอบภายใน หมายถึง บุคลากรที่ได้รับการแต่งตั้งจากกรรมการผู้จัดการบริษัทฯ - แนวปฏิบัติในนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน
2.1 กรรมการผู้จัดการ
1) กำกับดูแลระบบควบคุมภายในดำเนินการตามแผนที่กำหนดและระบบบริหารความเสี่ยงเพื่อป้องกันการคอร์รัปชัน
2) อนุมัติและสนับสนุนนโยบายและป้องกันการต่อต้านคอร์รัปชัน โดยดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดในกรณีที่มีรายงานหรือสงสัยเรื่องคอร์รัปชัน
3) กำหนดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนเพื่อสนับสนุนการต่อต้านคอร์รัปชัน และพิจารณาปรับปรุงแนวทางปฏิบัติตามความเหมาะสมในทางธุรกิจ
4) จัดจัดให้มีแนวทางปฏิบัติเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจแก่พนักงานทุกคนในบริษัทฯและมีหน้าที่พิจารณาทบทวนความเหมาะสมของระบบการควบคุมภายในเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ ระเบียบ ข้อบังคับและข้อกำหนดของกฎหมาย
2.2 ผู้ตรวจสอบภายใน (ที่ได้รับการแต่งตั้งจากกรรมการผู้จัดการ)
1) ติดตามการปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันในบริษัท รวมถึงดูแล และรายงานผลการปฏิบัติต่อกรรมการผู้จัดการ
2) รับเรื่องการแจ้งเบาะแสหรือรับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคอร์รัปชันจากบุคลากรหรือแหล่งที่มาอื่นๆและจัดทำข้อเสนอแนะ
เพื่อปรับปรุงนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันตามที่จำเป็น
2.3 กรรมการผู้จัดการ พนักงานทุกคนในบริษัท รวมถึง คู่ค้า ตัวแทนทางธุรกิจ
1) ต้องไม่เรียกร้อง ดำเนินการ หรือยอมรับการคอร์รัปชันในทุกรูปแบบทั้งทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อประโยชน์ต่อองค์กร ตนเอง ครอบครัว หรือเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับบริษัท
2) ปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันและไม่ทำการกระทำที่ละเมิดข้อกำหนดของกฎหมาย
3) พนักงานทุกคนในบริษัทต้องรับการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มความเข้าใจในการตรวจสอบและป้องกันการคอร์รัปชัน
4) รายงานทุกกระบวนการที่เห็นเป็นไปไม่ถูกต้องหรือเป็นไปตรงกับลักษณะของคอร์รัปชัน
2.4 การทบสอบทานและทบทวนนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
1) บริษัทฯจะต้องสอบทานการปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันนี้อย่างสม่ำเสมออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง รวมไปถึงทบทวนแนวทางปฏิบัติและข้อกำหนดในการดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจระเบียบ ข้อบังคับและข้อกำหนดของกฎหมาย
2) บริษัทฯมีนโยบายบริหารบุคลากร ซึ่งรวมถึงการคัดเลือก การประเมินผลงาน การให้ผลตอบแทน ตลอดจนการเลื่อนตำแหน่งของพนักงานที่สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของบริษัทต่อมาตรการต่อต้านการคอร์รัปชัน - นโยบายการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการคอร์รัปชัน
เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านคอร์รัปชันที่อาจเกิดขึ้น กรรมการผู้จัดการและพนักงานของบริษัทต้องปฏิบัติตามนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านคอร์รัปชัน การให้และรับผลประโยชน์อื่นใดกับผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทฯ ให้พิจารณาตามข้อกำหนด ดังต่อไปนี้
ข้อที่ 1 การให้และรับเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์อันเหมาะสมตามมาตรฐานจริยธรรม
ข้อที่ 2 การให้และรับมิได้มีเจตนาในการแสวงหาประโยชน์หรือเพื่อให้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจทางธุรกิจ
ข้อที่ 3 การให้และรับต้องเป็นสิ่งที่ไม่ผิดกฎหมาย
ข้อที่ 4 การให้และรับต้องไม่ขัดต่อนโยบายและกฎระเบียบของกลุ่มบริษัท
ข้อที่ 5 การให้และรับต้องไม่ขัดต่อนโยบายของคู่ค้าธุรกิจ ภาครัฐ หรือผู้มีส่วนได้เสีย
3.1 นโยบายการให้ การรับของขวัญ หรือประโยชน์อื่นใด
บริษัทฯ ได้กำหนดให้มี นโยบาย “งดให้ งดรับของขวัญ และผลประโยชน์อื่นใด” ในช่วงเทศกาล เช่น เทศกาลปีใหม่ หรือโอกาสอื่นใด ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อมที่อาจทำให้เกิดอิทธิพลในการตัดสินใจอย่างใดอย่างนึงโดยไม่เป็นธรรมหรือมีเจตนาชักนำหรือละเว้นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง หรือหากการกระทำเหล่านั้นจะมีผลกระทบกับการดำเนินงานของบริษัทฯการให้ของขวัญ บุคลากรของบริษัทฯ สามารถให้ของขวัญโดยต้องเข้าเงื่อนไขตามข้อกำหนด 5 ข้อ ที่บริษัทกำหนดอย่างเคร่งครัด
แนวปฏิบัติการให้ของขวัญ1) ต้องเป็นการให้ของขวัญ ของที่ระลึกหรือประโยชน์อื่นใด ตามประเพณีนิยมในช่วงทศกาลเพื่อแสดงความขอบคุณ แสดงความเสียใจ หรือเป็นการให้ความช่วยเหลือตามมารยาท ที่ถือปฏิบัติกันในสังคมและต้องไม่ขัดต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
2) เป็นการให้ของขวัญหรือของที่ระลึกที่ไม่อยู่ในรูปของเงินสดหรือเทียบเท่าเงินสด
3) ต้องเป็นการให้ของขวัญหรือของที่ระลึกในรูปแบบที่ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของบริษัทฯ เช่น สินค้าที่ใช้เป็นสื่อประชาสัมพันธ์ ของบริษัท สินค้าที่มีโลโก้บริษัท เป็นต้น
4) การให้ของขวัญ ต้องมีมูลค่าของไม่เกิน 2,000 บาท ต่อ 1 คนกับหน่วยงาน หรือเจ้าหน้าที่รัฐ หรือกับภาคเอกชนต่อครั้ง
5) จัดทำ แบบบันทึกการให้หรือรับของขวัญและรับรองหรือประโยชน์อื่นใด (แบบฟอร์ม CAC-FM-002) เพื่อขออนุมัติต่อกรรมการผู้จัดการรับของขวัญ บุคลากรของบริษัทฯ ต้องหลีกเลี่ยงการรับของขวัญในทุกเข้าเงื่อนไขตามข้อกำหนด 5 ข้อ ที่บริษัทกำหนดอย่างเคร่งครัด
แนวปฏิบัติการรับของขวัญ
1) กรรมการผู้จัดการและพนักงานทุกคน งดรับสิ่งของ หรือประโยชน์อื่นใดจากผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ
2) กรณีที่มีความจำเป็นต้องรับสิ่งของหรือประโยชน์อื่นใดโดยไม่สามรถเลี่ยงได้ สามารถรับได้แต่ต้องมีมูลค่าไม่เกิน 2,000 บาท เช่น ปฏิทินพวงกุญแจ ปากกา สมุดบันทึก เหรียญที่ระลึก เป็นต้น
3) เมื่อได้รับสิ่งของแล้ว ให้นำสิ่งของที่ได้รับ พร้อมแนบ แบบบันทึกการให้หรือรับของขวัญและรับรองหรือประโยชน์อื่นใด (แบบฟอร์ม CAC-FM-002) ส่งไปยังผู้ตรวจสอบภายในเพื่อรวบรวมบริจาคให้บุคคลหรือหน่วยงนภายนอก เพื่อการกุศลหรือสาธารณะประโยชน์หรือเพื่อพิจารณาแจกจ่ายให้กับ กรรมการผู้จัดการ และพนักงานตามความเหมาะสม
3.2 นโยบายการเลี้ยงรับรอง
นโยบายการเลี้ยงรับรองการจ่ายค่าเลี้ยงรับรองให้เป็นไปตามข้อกำหนด 5 ข้อ และกำหนดให้การใช้จ่ายสำหรับเลี้ยงรับรองทางธุรกิจ เช่น การเลี้ยงรับรองเป็นอาหารและเครื่องดื่ม การเลี้ยงรับรองในรูปแบบการกีฬา และการใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการปฏิบัติทางธุรกิจหรือเป็นจารีตทางการค้า รวมถึงการให้ความรู้ความเข้าใจทางธุรกิจ สามารถกระทำได้ แต่ต้องเป็นการใช้จ่ายอย่างสมเหตุสมผล และไม่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจในการปฏิบัติงาน หรือก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์
แนวปฏิบัติการเลี้ยงรับรอง
1. การดำเนินการรับรอง ให้พนักงานผู้ทำการเลี้ยงรับรองทำ แบบบันทึกการให้หรือรับของขวัญและรับรองหรือประโยชน์อื่นใด (แบบฟอร์ม CAC-FM-002) พร้อมกับแนบใบสำคัญเพื่อการเบิกจ่ายเพื่อเสนอขออนุมัติเงินค่ารับรองจากกรรมการผู้จัดการ
2. มูลค่าของการเลี้ยงรับรอง ไม่เกิน 2,000 บาท ต่อ 1 คนกับหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่รัฐ หรือ กับภาคเอกชนต่อครั้ง
3.3 นโยบายการบริจาคเพื่อการกุศลและเงินสนับสนุน
การบริจาคเพื่อการกุศลหรือเงินสนับสนุนให้เป็นไปตามข้อกำหนด 5 ข้อ และกำหนดให้บุคลากรของบริษัทสามารถบริจาคเพื่อการกุศลหรือเงินสนับสนุนได้ โดยต้องมีลักษณะคือเป็นองค์กรที่เชื่อถือได้หรือมีการจัดตั้งอย่างถูกต้องตามกฎหมายการดำเนินการ
ต้องกระทำในนามบริษัทฯ อย่างโปร่งใส และเป็นไปตามระเบียบของบริษัท และไม่ควรจ่ายเงินตรงไปที่เจ้าหน้าที่รัฐหรือบุคคลใดๆ
ในนามบุคคล เว้นแต่มีรายละเอียดระบุในหนังสือขอรับการสนับสนุนชัดเจน และมีหลักฐาน การรับการสนับสนุนเป็นลายลักษณ์อักษร
แนวปฏิบัติการกุศลและเงินสนับสนุน
1) ผู้ดำเนินการ จัดทำ แบบบันทึกการบริจาค/เงินสนับสนุน (แบบฟอร์ม CAC-FM-001)
2) นำส่งแบบบันทึกการบริจาค/เงินสนับสนุน พร้อมเอกสารแนบทั้งหมดต่อกรรมการผู้จัดการเพื่อขออนุมัติ
3) ดำเนินการเบิกค่าใช้จ่ายตามระเบียบของบริษัท พร้อมเอกสารแนบทั้งหมดที่ได้รับการอนุมัติแล้วต่อฝ่ายบัญชี
4) หลังการดำเนินการ ผู้ดำเนินการต้องส่งหลักฐานการบริจาคต่อฝ่ายบัญชีภายใน 7 วัน
3.4 นโยบายการจ่ายค่าอำนวยความสะดวก
ห้ามจ่ายเงินค่าอำนวยความสะดวก ให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อเร่งการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่
3.5 นโยบายการมีส่วนร่วมทางการเมือง
ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ บริษัทมีนโยบายเป็นกลางทางการเมือง โดยจะไม่ให้การสนับสนุน หรือการกระทำอันเป็นการฝักใฝ่พรรคการเมือง ทั้งในทางตรง และทางอ้อม ซึ่งรวมถึงกิจกรรมการพยากรที่จะทำให้บริษัทฯสูญสียความเป็นกลางทางการเมืองหรือได้รับความเสียหายจากการเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในกิจกรรมดังกล่าว - การแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน
การแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนบุคคลที่สามารถแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนเกี่ยวกับกรคอร์รัปชัน คือผู้ที่ที่มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มของบริษัทๆได้แก่ ลูกค้า เจ้าหน้าที่ภาครัฐ ชุมชน สังคม ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท
4.1 การรับแจ้งเบาะแสหรือร้องเรียนเกี่ยวกับการคอรัปชัน
1) พบเห็นการกระทำการคอร์รัปชันที่เกี่ยวข้องกับองค์กรทั้งทางตรงหรือทางอ้อม เช่น พบเห็นบุคคลในองค์กรติดสินบน
2) พบเห็นการกระทำที่ผิดขั้นตอนตามระเบียบปฏิบัติของบริษัท หรือมีผลต่อระบบการควบคุมภายในของบริษัทจนทำให้สงสัย
ได้ว่าอาจจะเป็นช่องทางในการคอร์รัปชัน
3) พบเห็นการกระทำที่ทำให้บริษัทเสียผลประโยชน์ และกระทบต่อชื่อเสียงของบริษัท
4) พบเห็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย กฎระเบียบ หรือข้อพึงปฏิบัติทางธุรกิจและหลักจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ
4.2 ช่องทางแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนการทุจริตคอร์รัปชัน
บริษัทกำหนดให้มีช่องทางการแจ้งบาะแสหรือรับข้อร้องเรียนกรณีพบการกระทำที่อาจทำให้เกิดความสงสัยว่าเป็นการคอร์รัปชัน บริษัทได้เปิดโอกาสให้ทั้งบุคคลภายในและบุคคลภายนอกสามารถแจ้งเบาะแสได้ และมีกระบวนการปกป้องคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส เพื่อให้ผู้แจ้งเบาะแสรู้สึกปลอดภัยในการแจ้งเหตุโดยผู้ร้องเรียนจะต้องระบุรายละเอียดของเรื่องที่จะแจ้งเบาะแส หรือข้อร้องเรียน โดยจะระบุชื่อ ที่อยู่ หรือสถานที่ติดต่อหรือไม่ก็ได้โดยแจ้งผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้
1) ผ่านช่องทางไปรษณีย์
ฝ่ายตรวจสอบภายใน
บริษัท พี เค เค โปรเซส ซิสเต็มส์ จำกัด
161/8 หมู่ 6 ตำบลบ้านฉาง อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง 21130
โทร. 086 339 1287
2) ผ่านช่องทางอีเมล์ โดยส่งมาที่ E-mail: info@pkkps.com
3) แจ้งผ่านเว็บไซต์บริษัท www.pkkps.com - ขั้นตอนการดำเนินการสืบสวนและบทลงโทษ
5.1 ขั้นตอนการดำเนินการสืบสวน
1) ตรวจสอบภายในที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้พิจารณารับเรื่องแจ้งเบาะแส และข้อร้องเรียนการกระทำที่อาจเป็นการคอร์รัปชันที่เกิดขึ้นกับบริษัทโดยทั้งทางตรงหรือทางอ้อม ตามที่ได้กำหนดไว้ในนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน
2) เมื่อมีการร้องเรียนเรื่องการคอร์รัปชันตามช่องทางที่กำหนด กรรมการผู้จัดการและผู้ตรวจสอบภายในจะเป็นผู้กลั่นกรองสืบสวนข้อเท็จจริง โดยพิจารณาความชัดแจ้งเพียงพอของพยานหลักฐาน
3) กรณีมีมูลความจริงจะดำเนินการตรวจสอบเพื่อรวบรวมหลักฐาน และพยานระหว่างการสืบสวนข้อเท็จจริงผู้ตรวจสอบภายในจะแจ้งความคืบหน้าภายในระยะเวลา 15 วันทำการ นับแต่ได้รับเรื่องร้องเรียน หรือข้อมูลเบาะแส ให้แก่ผู้แจ้งเบาะแส หรือผู้ร้องเรียนได้ทราบ
5.2 บทลงโทษ
นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของวินัยในการปฏิบัติงานของกรรมกา รผู้จัดการและพนักงานของบริษัทฯ รวมถึงคู่ค้า บุคคลที่สาม เอเย่นต์ หากผู้ใดละเลย ละเว้น และเจตนาที่จะไม่ปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชันและแนวปฏิบัติของบริษัทฯ ถือว่าผิดวินัยอย่างร้ายแรง และจะได้รับโทษตามข้อบังคับหรือระเบียบของบริษัทที่ได้กำหนดไว้ และหากความผิดนั้นเป็น การ
กระทำที่ผิดกฎหมาย บริษัทจะพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง - มาตรการคุ้มครองพนักงานและรักษาความลับ
บริษัทให้ความสำคัญกับการเก็บข้อมูลการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนเป็นความลับ จึงมีมาตรการคุ้มครองปลอดภัยและ
ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ดังนี้
6.1 การรักษาความลับของข้อมูล
บริษัทจะให้ความสำคัญกับกรรักษาความลับของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน โดยมีมาตรการที่เข้มงวดในการเก็บรักษาและป้องกันข้อมูลนี้จากการเข้าถึงที่ไม่ได้รับอนุญาต
6.2 การปกปิดข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทจะปกปิดชื่อที่อยู่ หรือข้อมูลใดๆ ที่สามารถระบุผู้ร้องเรียนหรือผู้ให้ข้อมูลไว้เป็นความลับ เว้นแต่มีการเปิดเผยตามกฎหมายหรือหน้าที่ที่กำหนดไว้
6.3 ห้ามเปิดเผยข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต
บุคลากรที่ได้รับข้อมูลจากการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนมีหน้าที่รักษาความลับและห้ามเปิดเผยข้อมูลแก่บุคคลที่ไม่มีหน้าที่หรืออำนาจเกี่ยวข้อง ยกเว้นการเปิดเผยตามกฎหมาย
6.4 การจัดเก็บเอกสารหลักฐาน
ผู้ตรวจสอบภายใน มีหน้าที่เก็บข้อมูล ข้อร้องเรียน และเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องไว้เป็นความลับ และต้องมีมาตรการในการจัดเก็บที่ปลอดภัย
6.5 นโยบายการไม่ลดตำแหน่งหรือลงโทษ
บริษัทมีนโยบายที่จะไม่ลดตำแหน่ง ลงโทษ หรือให้ผลทางลบต่อพนักงานที่ปฏิเสธการจ่ายสินบน แม้ว่าการกระทำนั้นจะทำให้บริษัทฯ สูญเสียโอกาสทางธุรกิจก็ตาม
6.6 การรักษาความยุติธรรม
บริษัทจะรักษาความยุติธรรมในการจัดการข้อร้องเรียน และจะไม่มีการลดตำแหน่งหรือลงโทษในทางที่ไม่ยุติธรรม - การเผยแพร่นโยบายการต่อต้านการคอร์รัปชัน
เพื่อให้ทุกคนในองค์กรได้รับทราบนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน บริษัทจะดำเนินการดังต่อไปนี้
1) บริษัทจะติดประกาศนโยบายการต่อต้านการคอร์รัปชันในสถานที่เด่นชัดเพื่อให้ทุกคนในองค์กรทราบ
2) เผยแพร่นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันผ่านช่องทางการสื่อสารของบริษัท เช่น เว็บไซต์ของบริษัท อีเมล์ และรายงานประจำปี
3) บริษัทจะมีการทบทวนนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชันอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง - การสื่อสาร
1) จัดให้มีการสื่อสาร นโยบายและมาตรการต่อต้านการคอร์รับชันให้แก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบประกอบไปด้วย ผู้บริหาร พนักงาน บริษัทคู่ค้า และบุคคลภายนอกทราบผ่านช่องทาง เว็บไซต์ของบริษัท อีเมล์ ใบเสนอราคา เป็นต้น
2) จัดให้มีการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะชนเกี่ยวกับนโยบายและมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รับชันของบริษัท
3) เมื่อมีการจัดทำหรือปรับปรุงนโยบายและมาตรการที่เกี่ยวข้อง ให้มีการสื่อสารและเปิดเผยข้อมูลทุกครั้ง ตามช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสม เช่น เว็บไซต์ของบริษัท อีเมล์ เป็นต้น - การฝึกอบรม
1) การจัดปฐมนิเทศเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญเพื่อให้พนักงานใหม่ทราบถึงนโยบายต่อต้านการคอร์รับชันของบริษัทฯ
2) การจัดโปรแกรมฝึกอบรมที่เน้นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายต่อต้านการคอร์รับชันของบริษัทฯ
3) สนับสนุนให้กรรมการผู้จัดการมีส่วนในการให้ความรู้แก่พนักงานและบุคลากรของบริษัท เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติตามนโยบายต้อต้านคอร์รัปชัน
นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป
ขอแสดงความนับถือ
นายนวายุทธ อินทร์ชัย
กรรมการผู้จัดการ บริษัท พี เค เค โปรเซส ซิสเต็มส์ จำกัด